ผ่านพ้นพฤศจิกายน...ตลาดรถยนต์ 11 เดือน ลดลง 1.9%
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2551 ด้วยปริมาณการขาย 46,068 คัน ลดลง 20.2 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 18,176 คัน เพิ่มขึ้น 33.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 27,892 คัน ลดลง 36.7% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 24,285 คัน ลดลง 38.0%
ทางด้านสถิติการขายสะสม 11 เดือนของปี 2551 มีปริมาณทั้งสิ้น 556,268 คัน ลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 202,980 คัน เพิ่มขึ้น 28.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 353,288 คัน ลดลง 13.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 303,072 คัน ลดลง 15.5%
วิกฤตการณ์จากสหรัฐฯ ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยตลาดรถยนต์ 11 เดือน มีปริมาณการขายรวม 556,268 คัน ลดลง 1.9% โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลง 13.6% รวมถึงตลาด รถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตลดลง 15.5% โดยในช่วงครึ่งปีแรกปัจจัยหลักมาจากภาวะตระหนกต่อราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี จนถึงกลางเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นวิกฤตการณ์ทางการเงินจากในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ตลอดจนสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ แต่ทั้งนี้ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโต 28.4% เนื่องจากความต้องการรถยนต์นั่งพลังงานทางเลือก อี20 ที่แนะนำเข้าสู่ตลาดมาตั้งแต่ต้นปี รวมถึงรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ที่มีการแนะนำเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ โคโรลล่า อัลติส, ฮอนด้า แจ๊ส และ ฮอนด้า ซิตี้
ตลาดรถยนต์ในเดือน พฤศจิกายน มีอัตราการเติบโตลดลง 20.2% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยเป็นการลดลงที่ต่ำสุดในรอบปี มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 46,068 คัน เนื่องจากการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบความไร้เสถียรภาพ และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พฤศจิกายนลดลงต่ำที่สุดในรอบ 82 เดือน เป็นผลให้ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ปรับตัวลดลง 36.7% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ที่ลดลงถึง 38.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดีตลาดรถยนต์นั่งที่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 33.2% ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้ชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อรอนโยบายการปรับลดภาษีสรรพษามิตสำหรับรถยนต์ อี20
ตลาดรถยนต์เดือนธันวาคม คาดว่าจะมีแน้วโน้มทรงตัว แม้ว่าโดยปกติเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่มียอดขายสูงสุดในรอบปี ด้วยข้อเสนอพิเศษต่างๆ ที่แต่ละค่ายนำมาเสนอต่อผู้บริโภค รวมกับการจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โปที่ผ่านมามียอดจองทั้งสิ้น 14,690 คัน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ดี ผลกระทบวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกที่ยังไม่คลี่คลาย ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญกดดันเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ที่ได้ลดความตึงเครียดลง น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2551ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 46,068 คัน ลดลง 20.2%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,771 คัน ลดลง 24.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.9%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,208 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,855 คัน เพิ่มขึ้น 124.0% ส่วนแบ่งตลาด 17.1%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,176 คัน เพิ่มขึ้น 33.2%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,097 คัน ลดลง 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 44.5%
- อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,480 คัน เพิ่มขึ้น 136.6% ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
- อันดับที่ 3 นิสสัน 579 คัน เพิ่มขึ้น 63.6% ส่วนแบ่งตลาด 3.2%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 24,285 คัน ลดลง 38.0%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,604 คัน ลดลง 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 43.7%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,554 คัน ลดลง 37.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
- อันดับที่ 3 นิสสัน 1,402 คัน ลดลง 46.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.8%*
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน:2,208 คัน
โตโยต้า 1,093 คัน - มิตซูบิชิ 625 คัน - อีซูซุ 457คัน - ฟอร์ด 33 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,077 คัน ลดลง 40.0%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,511 คัน ลดลง 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 43.1%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,097 คัน ลดลง 35.8% ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
- อันดับที่ 3 นิสสัน 1,402 คัน ลดลง 46.2% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 27,892 คัน ลดลง 36.7%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,674 คัน ลดลง 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,208 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.6%
- อันดับที่ 3 นิสสัน 1,412 คัน ลดลง 47.6% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%
สรุปสถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2551ตลาดรถยนต์รวม
ปริมาณการขาย 556,268 คัน ลดลง 1.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 236,227 คัน ลดลง 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 122,000 คัน ลดลง 8.8% ส่วนแบ่งตลาด 21.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 80,000 คัน เพิ่มขึ้น 40.4% ส่วนแบ่งตลาด 14.4%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 202,980 คัน เพิ่มขึ้น 28.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 96,721 คัน เพิ่มขึ้น 14.1% ส่วนแบ่งตลาด 47.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 71,851 คัน เพิ่มขึ้น 47.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 3 เชฟโรเลต 9,410 คัน เพิ่มขึ้น 40.4% ส่วนแบ่งตลาด 4.6%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 303,072 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 126,440 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 41.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 115,021 คัน ลดลง 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%อั
นดับที่ 3 นิสสัน 21,462 คัน ลดลง 25.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 20,222 คัน
โตโยต้า 12,754 คัน – อีซูซุ 5,583คัน- มิตซูบิชิ 1,403 คัน – ฟอร์ด 482 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 282,850 คัน ลดลง 16.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 113,686 คัน ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 109,438 คัน ลดลง 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 21,462 คัน ลดลง 25.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 353,288 คัน ลดลง 13.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 139,506 คัน ลดลง 16.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 122,000 คัน ลดลง 8.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 21,985 คัน ลดลง 27.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น