AUTO THAILAND's Fan Box

AUTO THAILAND on Facebook

Facebook Fanpage QR Code

qrcode

เจอกันที่ใหม่ จัดเต็มกว่าเดิม!

๑๕ มกราคม ๒๕๕๒

แถลงข่าวของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ประจำปี 2552
















แถลงข่าวของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ประจำปี 2552
ตลาดรถยนต์ปี 2551 ยอดขายรวม 615,270 คัน ลดลง 2.5%
โตโยต้า คาดตลาดรถยนต์ปี 2552 หดตัว
ยอดขายรวม 520,000 คัน ลดลง 15.4%

มร.มิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ประจำปี 2551 มีปริมาณการขาย 615,270 คัน ลดลง 2.5% คาดตลาดรถยนต์ไทยปี 2552 มีแนวโน้มหดตัว มียอดขาย 520,000 คัน ลดลง 15.4% พร้อมตั้งเป้าหมายการขายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น 221,000 คัน
ลดลง 15.7% ครองส่วนแบ่งตลาด 42.5%

มร.โซโนดะ กล่าวว่า“ตลาดรถยนต์ปี 2551เป็นช่วงเวลาที่ผกผันเป็นอย่างมากของอุตสาหกรรมยานยนต์
โดยปริมาณการขาย เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละไตรมาสแล้ว จะเห็นว่าในไตรมาสแรกของปี มีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นถึง 17% แต่ก็หดตัวลงอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากภาวะการตื่นตระหนกในราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณการขายเติบโตเพียง 3.6% และได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 ประกอบกับวิกฤติการเงินโลก
ทำให้ไตรมาส 3 มีอัตราการเติบโตติดลบเป็นครั้งแรกของปี และส่งผลต่อถึงการขายในไตรมาส 4 ซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน ทำให้ยอดขายลดลงเช่นเดียวกัน โดยลดลงถึง 14.6% ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ของปี พ.ศ. 2551
หดตัวลดลงเหลือ 615,270 คัน ลดลง 2.5%”

“การหดตัวของตลาดรถยนต์ในปี 2551 เป็นผลมาจาก การหดตัวของตลาดรถกระบะ 1 ตัน ซึ่งมีความสำคัญและ
มีสัดส่วนการขายสูง โดยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่มีพลังงานทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยในปีที่ผ่านมา ตลาดรถกระบะ มียอดขายลดลงถึง 17.6%
ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่ง มีปริมาณการขายทำสถิติ ด้วยยอดขาย 226,805 คัน เติบโต 33.3%
เป็นผลจากมีการแนะนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด ความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์พลังงานทางเลือก
E20 และสมรรถนะการประหยัดน้ำมันของรถยนต์นั่งขนาดเล็ก”

สถิติการขายรถยนต์ ในปี 2551
 ปริมาณการขายรวม 615,270 คัน ลดลง 2.5%
 รถยนต์นั่ง 226,805 คัน เพิ่มขึ้น 33.3%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 388,465 คัน ลดลง 15.8%
 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 334,282 คัน ลดลง 17.6%
 รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 311,470 คัน ลดลง 18.6%

“สำหรับโตโยต้า เราสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้ 42.6% มียอดขายเป็นอันดับ 1 เป็นปีที่ 4ติดต่อกัน
ในตลาดรถยนต์รวม ตลาดรถยนต์นั่ง ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ด้วยยอดขายรวม 262,209 คัน ลดลง 7%
แบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 106,853 คันเพิ่มขึ้น 15.5% รถกระบะ1 ตัน 141,249 คัน ลดลง 18.4%

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2551
 ปริมาณการขายโตโยต้า 262,209 คัน ลดลง 7.0% ส่วนแบ่งตลาด 42.6%
 รถยนต์นั่ง 106,853คัน เพิ่มขึ้น 15.5% ส่วนแบ่งตลาด 47.1%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 155,356 คัน ลดลง 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.0%
 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 141,249 คัน ลดลง 18.4% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
 รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 127,208 คัน ลดลง 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%

“ทางด้านการส่งออกของปีที่ผ่านมาโตโยต้าสามารถส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป จำนวนทั้งสิ้น 313,000 คัน
เติบโต 32% มูลค่าการส่งออก 13,400 ล้านบาท นอกจากนี้ เราได้ส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่จำนวนทั้งสิ้น 28,800 คอนเทนเนอร์ มูลค่าการส่งออก 44,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา” มร.โซโนดะกล่าว
สำหรับแนวโน้มของตลาดรถยนต์ของปี 2552 มร.โซโนดะ กล่าวว่า“เราคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์ในปี 2552
จะมีอัตราการเติบโตลดลงจากปีก่อนประมาณ 15% ปริมาณการขาย 520,000 คัน โดยแบ่งออกเป็นตลาดรถยนต์นั่ง 205,000 คัน ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน 269,000 คัน และตลาดรถกระบะในเซ็กเม้นท์นี้ 252,000 คัน
โดยคาดการณ์จากอัตราการเติบโตที่ลดลงของไตรมาส 4 ในปี 2551 ซึ่งสะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบันและส่งผลต่อเนื่องมาถึงปีนี้ โดยโตโยต้า ได้ตั้งเป้าหมายการขายไว้ที่ 221,000 คัน ลดลง 15.7%
เมื่อเทียบกับปี 2551 และคาดว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาด 42.5%”

“เรายังมีความเชื่อมั่นว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยยังแข็งแกร่ง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลกไปอีกระยะหนึ่งก็ตาม ทั้งนี้ ระดับราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพและไม่สูงมากนักจะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ และจากข้อมูลอัตราการถือครองรถยนต์ต่อประชากรแสดงให้เห็นว่า ยังคงมีความต้องการอยู่มากทั้งความต้องการรถยนต์ใหม่ในต่างจังหวัดและทดแทนรถยนต์คันเดิมสำหรับลูกค้าในกรุงเทพฯ เรายังมองเห็นโอกาสทางการตลาดและมีช่องทางสำหรับการเติบโตของตลาดรถยนต์ในประเทศ” มร.โซโนดะ กล่าวเพิ่มเติม

ประมาณการยอดขายรถยนต์ ในปี 2552
 ปริมาณการขายรวม 520,000 คัน ลดลง 15.4%
 รถยนต์นั่ง 205,000 คัน ลดลง 8.6%
 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 269,000 คัน ลดลง 19.1%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 315,000 คัน ลดลง 19.0%

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2552
 ปริมาณการขายรวม 221,000 คัน ลดลง 15.7% ส่วนแบ่งตลาด 42.5 %
 รถยนต์นั่ง 91,000 คัน ลดลง 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.4 %
 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 117,800 คัน ลดลง 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 43.7%
 รถเพื่อการพาณิชย์ 130,000 คัน ลดลง 16.3% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%

มร.โซโนดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตลาดรถกระบะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมา ตลาดรถกระบะมีสัดส่วนการขายสูงถึง 60% และลดลงอย่างมาก ในปีผ่านมาเหลือระดับ 50% ในปี นี้ เราจะให้ความสำคัญและส่งเสริมการขายรถกระบะ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ และรักษาระดับการขายรถยนต์นั่งไว้ ทั้งนี้ ไม่เพียงจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเท่านั้น ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมอีกด้วย และขอความสนับสนุนจากรัฐบาลในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ผู้บริโภค ส่งเสริมนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่เพียงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์เท่านั้น ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมอีกด้วย”
“ภายใต้สถานการณ์การตลาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน นอกจากเป้าหมายการขายที่จะต้องบรรลุแล้ว เรายังต้องเน้นถึงความสมดุลของการบริหารต้นทุน และการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงมุ่งมั่นสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าเพื่อรักษาความสำเร็จต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลความพึงพอใจทั้งจากรางวัล JD Power และ TAQA นอกจากนี้ เรายังคงดำเนินงานตามแผนการผลิตรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยจะแนะนำรถยนต์ คัมรี ไฮบริด และ รถยนต์ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด ตามแผนงานที่วางไว้ พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม และกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในหลายๆด้าน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมไทย” มร.โซโนดะ กล่าวในที่สุด

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคับ