สมาร์ทคาราวาน 8,800 กม. โดย Hilux Vigo
(ทริปที่ 1 กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี – สุพรรณบุรี – ตาก – เชียงใหม่ – ปาย)
(ทริปที่ 1 กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี – สุพรรณบุรี – ตาก – เชียงใหม่ – ปาย)
สู่การเดินทางครั้งแรกในประวัติศาสตร์กับรูปแบบคาราวานท่องเที่ยวบนระยะทาง 8,800 กม. ในทุกสภาพเส้นทางตามแนวตะเข็บชายแดนไทย โดย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่ได้เชื้อเชิญสื่อมวลชนไทยสายยานยนต์ร่วมพิสูจน์สมรรถนะของ รถกระบะขวัญใจประชาชน โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ในรุ่นสมาร์ท แค็บ รถกระบะที่ผลิตขึ้นจากคอนเซปป์เทคโนโลยีเพื่อขีดสุดแห่งความสะดวกสบาย ที่ให้ผู้ใช้มั่นใจในทุกจังหวะชีวิต เต็มที่ทุกกิจกรรมความสุข
ด้วยกิจกรรมการเดินทางที่จะทำให้คุณรักเมืองไทยมากขึ้น
สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบคาราวานครั้งนี้ ใช้ระยะทางทั้งสิ้น 8,800 กม, กับระยะเวลาในการเดินทางอย่าง
ต่อเนื่องทั้งสิ้น 23 วัน ทั้งนี้การเดินทางแบ่งออกเป็น 5 ทริป ในแต่ละทริปจะมีสื่อมวลชนสายยานยนต์ร่วมการเดินทาง และใช้
เวลาในการเดินทาง 5-6 วัน ซึ่งเป็นเส้นทางในช่วงภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ในขณะที่ภาคใต้
จะใช้เวลาในการเดินทาง 3-4 วัน โดยมี คุณวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปล่อยรถเริ่มต้นการเดินทางสำหร้บ
ทริปแรก ณ หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552
ช่วงที่ 1 จากภาคตะวันตกสู่ภาคเหนือ เส้นทางบนขุนเขาเส้นทาง กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี – สุพรรณบุรี – ตาก – เชียงใหม่ – ปาย
การเดินทางเริ่มต้นในช่วงสายของวันที่ 22 มกราคม 2552 ณ หอประชุมกองทัพเรือ กับสื่อมวลชนที่ร่วมเดินทางในทริปนี้จำนวน 19 ชีวิต กับรถกระบะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ สมาร์ทแค็บ จำนวน 9 คัน และลูกค้าที่ร่วมเดินทางในช่วงแรกอีก จำนวน 10 คัน โดยใช้เส้นทางถนนบรมราชชนนี เพชรเกษม ผ่านนครปฐม บ้านโป่ง กาญจนบุรี อุ่นเครื่องเรียกน้ำย่อยกับการเดินทางในแบบสบายๆ ก่อนที่จะมาเริ่มจริงจังบนเส้นทางหลวงหมายเลข 323 มุ่งหน้าสู่ทองผาภูมิ และเร้าใจไปกับการขับขี่ขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อขบวนคาราวานทั้งคณะเริ่มเลี้ยวขวามุ่งหน้าสู่ อำเภอสังขละบุรี ที่เส้นทางในช่วงนี้เต็มไปด้วยทางขึ้นเขา ลงเขา ทางคดโค้ง
ซึ่งสมรรถนะของเครื่องยนต์ ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล ไดเร็คอินเจคชั่น DOHC 16 วาล์ว พร้อมระบบเทอร์โบและระบบอินเตอร์คูลเลอร์ ทั้งเครื่องยนต์ขนาด 2,494 ซีซี. และ ขนาด 2,982 ซีซี. สามารถตอบสนองต่ออัตราเร่งในทุกรอบเครื่องยนต์ ที่สามารถเรียกแรงบิดออกมาได้อย่างทันใจ รวมไปถึงการยึดเกาะถนนที่ให้ความมั่นใจในการขับขี่ โดยเฉพาะความนุ่มนวลกับระบบกันสะเทือนหน้าแบบอิสระปีกนกคู่ ดับเบิลวิชโบนและคอยล์สปริง โค้งในแต่ละโค้งที่มีทั้งโค้งลึกและโค้งกว้าง สมาร์ท แค็บ ยังสร้างความพึงพอใจ
ให้กับการขับขี่ และไม่เคร่งเครียดจนเกินไปกับการเดินทาง ด้วยรัศมีวงเลี้ยวที่แคบสุด 5.9 เมตร ที่ให้ความคล่องตัว และความแม่นยำในการขับขี่ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ให้ความชัดเจนในแต่ละจังหวะของการเข้าโค้ง เบาะนั่งที่กว้างและ
โอบรับกับสรีระช่วยลดความเมื่อยล้าในการเดินทางไกลๆ จุดหมายแรกของการเดินทางท่องเที่ยวในครั้งนี้ อยู่ที่อำเภอสังขละบุรี
ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้เมืองสังขละบุรีนั้น เดิมมีชื่อว่าเมืองท่าขนุน ถือเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเดินทัพของกองทัพไทยและพม่าในสมัยก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับ
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองท่าขนุนขึ้นเป็นเมืองชายแดน มีเจ้านายเป็นชาวกระเหรี่ยงเป็นเจ้าเมือง และพระราชทานนามว่า พระศรีสุวรรณคีรี มีทายาทสืบทอดตำแหน่งต่อมา 4 คน
ในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2438 เมืองท่าขนุนได้ยกฐานะเป็น อำเภอวังกะ – สังขละบุรี ต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับเมืองกาญจนบุรี ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2508
บนเส้นทางสายนี้ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสังขละบุรี จะมีแยกขวามือไปด่านเจดีย์สามองค์ ที่มีตลาดค้าขายชายแดนไทย-พม่า สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ อัญมณีจำพวกหยกและพลอย รวมไปถึงต้นไม้ แม้จะเป็นตลาดชายแดนเล็กๆ แต่ก็ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเช่นกัน สำหรับอำเภอสังขละบุรีนั้น ถือเป็นอำเภอที่มีชาวมอญมาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นชาวมอญที่อพยพมาจากบ้านโมกกะเนียง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อปี พ.ศ. 2494 ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่ออุตตมะซึ่งจำพรรษาอยู่ที่อำเภอทองผาภูมิและเป็นชาวมอญบ้านโมกกะเนียงเช่นกัน ได้เดินทางมาพบและพาชาวมอญไปอยู่ที่บ้านวังกะล่าง ซึ่งอยู๋ห่างจากตัวอำเภอเก่าประมาณ 3 กม. และสร้างกุฎิสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2496 และได้ขอให้ทางราชการสร้างหมู่บ้านขึ้นที่ฝั่งแม่น้ำตรงข้ามกับตัวอำเภอเก่า หลังจากนั้นมีชาวมอญอพยพเข้ามามากขึ้น
สถานที่สำคัญและถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้นๆ ของเมืองสังขละบุรี คือ เจดีย์จมน้ำ ซึ่งเป็นวัดวังก์วิเวการาม วัดแรกที่หลวงพ่ออุตตมะได้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำหมู่บ้านมอญ แต่หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนเขาแหลมในปี พ.ศ. 2527 ทำให้เกิดน้ำท่วมวัดและหมู่บ้านมอญจมหายไปในเขื่อน ทำให้หลวงพ่ออุตตมะจำต้องสร้างวัดวังก์วิเวการามขึ้นมาใหม่ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะเรียกขานกันว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ถือเป็นวัดสำคัญของอำเภอสังชละบุรี วัดแห่งนี้มีรูปแบบศิลปกรรมในวัด ดูแปลกตาและใหญ่โตอลังการ ภายนอกอาคารแต่ละแห่งเป็นศิลปะแบบไทยประยุกต์ ส่วนภายในประดับตกแต่งด้วยศิลปะแบบมอญ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ
พระประธานในวิหาร ที่เป็นพระพุทธรูปหินอ่อนสีขาวขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง 5 ศอก น้ำหนัก 9 ตัน ซึ่งหลวงพ่ออุตตมะสั่งให้ช่างจากมัณทะเลย์ เมืองซึ่งเป็นแหล่งหินอ่อนขาว แกะสลักตั้งแต่ พ.ศ. 2514 โดยใช้เวลา 1 ปี โดยมีรูปแบบจากพระพุทธชินราช และใช้เวลาอีก 2 ปีครึ่งในการเดินทางมาประดิษฐานที่วิหาร นอกจากนั้นแล้วยังมีงาช้างแมมมอธ ตั้งอยู่ภายในวิหารอีกด้วย ปัจจุบันหลังจากที่หลวงพ่ออุตตมะได้มรณะภาพไปแล้ว ที่วัดวิเวกวังการามยังได้บรรจุร่างละสังขารของหลวงพ่อไว้ที่วิหารใหม่ เพื่อให้สานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศได้มากราบไหว้บูชา นักท่องเที่ยวที่มายังสังขละบุรี ไม่พลาดสำหรับการเดินทางมาที่สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากกันว่า สะพานมอญ มีความยาวประมาณ 900 เมตร นับเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสังชละบุรี หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการสร้างสะพานไม้นี้ขึ้น โดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในหมู่บ้านมอญตั้งแต่สมัยยังอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวอำเภอเก่า สำหรับหมู่บ้านมอญนั้น ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับอำเภอ สังขละบุรี ภายในหมู่บ้านจะคึกคักและมีชีวิตชีวาในตอนเช้าตรู่และตอนเย็น
ชาวบ้านที่นี่มีอัธยาศัยไมตรีและคุ้นเคยกับการมาเยือนของนักท่องเที่ยว
แหล่งชอปปิ้งของสังขละบุรีนอกจากตลาดการค้าชายแดนที่ด่านเจดีย์สามองค์แล้ว ที่ ตลาดมอญ ถือเป็นตลาดแห่งหนึ่งที่น่าสนใจและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไม่น้อยเช่นกัน สินค้าที่สำคัญนอกจากไม้แกะสลัก และอัญมณีแล้ว ยังมีรังนกนางแอ่นจำหน่ายในราคาไม่แพงอีกด้วย ใกล้กับตลาดจะเป็นที่ตั้งของเจดีย์พุทธคยาจำลอง เป็นเจดีย์องค์ใหญ่สามารถมองเห็นได้แต่ไกล สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 องค์เจดีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 42 เมตร สูง 59 เมตร ซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันเผาอิฐเพื่อใช้ก่อสร้างเจดีย์ ส่วนกระเบื้องเคลือบสีที่ติดรอบเจดีย์สั่งตรงจากราชบุรี ในปี พ.ศ. 2532 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จฯแทนพระองค์มาประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่หลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากศรีลังกาไว้บนยอดเจดีย์ซึ่งประดับด้วยฉัต
รทองคำหนัก 400 บาท
ขบวนคาราวานแวะท่องเที่ยวที่อำเภอสังขละบุรี ก่อนที่จะเดินทางไปพักแรมด้วยการกางเตนท์นอนที่ อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (ป้อมปี่) อันเป็นจุดสิ้นสุดการเดินทางในวันแรก ซึ่งใช้ระยะทางการเดินทางประมาณ 396 กม. ในค่ำคืนแรกของการเดินทางมีการแสดงรำวงของชาวกระเหรี่ยงมาแสดงให้กับคณะคาราวาน รวมถึงการมอบผ้าห่มให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติเขาแหลม ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี 2534เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 67 ของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,497 ตร.กม. หรือประมาณ 935,625 ไร่ สภาพภูมิประเทศอยู่ในแนวเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลและยอดที่สูงที่สุด 1,700 เมตร เป็นต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำรันตี
สภาพป่าประกอบไปด้วย ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจใกล้เคียง คือ จุดชมวิวป้อมปี่ เป็นสถานที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวมาพักหลังจากไปเที่ยวชมอำเภอสังชละบุรี สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกดินในยามเย็น นอกจากนั้นแล้วยังมี ถ้ำเกริงกะเวีย อยู่ติดถนนเป็นน้ำตกขนาดเล็ก ที่มีความสวยงาม น้ำตกไดช่องถ่อง เป็นน้ำตกขนาดกลาง เจดีย์โบอ่อง มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญ
สร้างอยู่บนเขาเล็กๆ มีบึงใหญ่ล้อมรอบในบริเวณบึงมีบัวนานาชนิด
วันที่สองของการเดินทาง เริ่มหนักขึ้นและลำบากกว่าวันแรก ด้วยการเดินทางในวันนี้ต้องผ่านเส้นทางที่เป็นทางออฟโรด ถนนลูกรังวิ่งอยู่ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โดยผ่านอุทยานแห่งชาติลำคลองงู บ้านทิพุเย บ้านทุ่งนางครวญ เส้นทางนี้แม้ว่าจะเป็นเส้นทางออฟโรด แต่ก็เป็นเส้นทางที่สวยงาม ป่าไม้ที่ยังอุดมสมบูรณ์ สมรรถนะของไฮลักซ์ วีโก้ สมาร์ทแค็บ ยังคงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเป็นรถขับเคลื่อนสองล้อ แต่กับสภาพเส้นทางออฟโรดในช่วงฤดูหนาวดูจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการสัญจร สภาพเส้นทางที่เต็มไปด้วยฝุ่น หลุม ร่อง และหินกรวด ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับการเดินทาง
วันที่สองของการเดินทาง เริ่มหนักขึ้นและลำบากกว่าวันแรก ด้วยการเดินทางในวันนี้ต้องผ่านเส้นทางที่เป็นทางออฟโรด ถนนลูกรังวิ่งอยู่ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โดยผ่านอุทยานแห่งชาติลำคลองงู บ้านทิพุเย บ้านทุ่งนางครวญ เส้นทางนี้แม้ว่าจะเป็นเส้นทางออฟโรด แต่ก็เป็นเส้นทางที่สวยงาม ป่าไม้ที่ยังอุดมสมบูรณ์ สมรรถนะของไฮลักซ์ วีโก้ สมาร์ทแค็บ ยังคงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเป็นรถขับเคลื่อนสองล้อ แต่กับสภาพเส้นทางออฟโรดในช่วงฤดูหนาวดูจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการสัญจร สภาพเส้นทางที่เต็มไปด้วยฝุ่น หลุม ร่อง และหินกรวด ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับการเดินทาง
โดยจุดหมายแรกของวันนี้อยู่ที่ น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ที่ตั้งอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น นั้น เป็นน้ำตก 7 ชั้น ที่ลดหลั่นลงมาตามสายธารของลำน้ำแม่ขมิ้นจนเกิดเป็นชั้นน้อยใหญ่ที่มีความสวยงามแตกต่างกันออกไปในแต่ละชั้นของน้ำตก ทุกๆ ชั้นมีชื่อเรียกขานกันอย่างน้ำตกชั้นที่ 1 ดงว่าน ชั้นที่ 2 ม่านขมิ้น ชั้นที่ 3 วังหน้าผา ชั้นที่ 4 ฉัตรแก้ว ชั้นที่ 5 ไหลจนหลง ชั้นที่ 6 ดงผีเสื้อ และชั้นที่ 7 ร่มเกล้า นอกจากนั้นแล้วยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลาย
เส้นทางให้นักท่องเที่ยวนิยมไพรได้เดินศึกษา
จากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ขบวนคาราวานเดินทางกันต่อ โดยใช้การข้ามแพขนานยนต์ที่อยู่ใกล้ๆ กับที่ทำการอุทยานฯ เชื่อนศรีนครินทร์ ประมาณ 5 กม. โดยการข้ามเขื่อนศรีนครินทร์ ไปยังอำเภอศรีสวัสดิ์ และลัดเลาะตามเส้นทางหมายเลข 4041 ที่ขนาบข้างด้วยขุนเขาของผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแควน้อยและแควใหญ่ โดยลำน้ำแควใหญ่นั้นจะไหลผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ทางด้านตะวันออกมีเนื้อที่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีระดับความสูงจากน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 800 – 1,200 เมตร ยอดเขาที่สูงทื่สุดคือ เขาใหญ่ สูง 1,800 เมตรอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ เป็นต้นน้ำลำธารหลายสาย คือ ห้วยไรตี่ แม่น้ำรันตร ไหลลงสู่ลำน้ำแควน้อยทางด้านตะวันตก ห้วยเซซะโหว่ ห้วยดงวี่ ห้วยซ่งไท้ ไหลลงสู่แควใหญ่ทางด้านตะวันออก ห้วยหม่องคง แม่น้ำกษัตริย์ใหญ่ ห้วยทิมู ไหลลงสู่ประเทศพม่าทางด้านเหนือ เพื่อไปยังอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีจุดหมายปลายทางที่ อุทยานแห่งชาติพุเตย รวมระยะทางสำหรับการเดินทางในวันนี้ 320 กม. ค่ำคืนของวันที่สองยังคงเป็นการพักแรมภายในอุทยานแห่งชาติ และเป็นการนอนเตนท์ รวมไปถึงการมอบผ้าห่มให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติพุเตย ซึ่งอุทยานแห่งนี้เป็นเทือกเขาสูงติดต่อกันสลับซับซ้อน มีจุดสูงสุดที่ยอดเขาเทวดา มีระดับความ 1,123 เมตร เป็นต้นน้ำลำธารญซี่งไหลลงอ่างเก็บน้ำลำตะเพิน ตามโครงการพระราชดำริ มีคลอง ลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยเหล็กไหล ห้วยวังน้ำเขียว ห้วยองค์พระ ห้วยท่าเดื่อ ห้วยขมิ้น ห้วยองคต
ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของชาวสุพรรณบุรี และเป็นต้นกำเนิดของเขื่อนกระเสียว
วันที่สามของการเดินทาง หลังจากพักผ่อนหลับนอนกันอย่างเต็มอิ่ม คณะสมาร์ทคาราวาน พร้อมออกเดินทาง โดยในวันนี้เริ่มลุยกันบนเส้นทางออฟโรดบนเขา ผ่านศาลเลาดาห์ อันเป็นสถานที่อนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบิน เลาดาห์ แอร์ไลน์ตก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2534 ที่มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 223 คน เลยขึ้นไปหน่อยจะมีต้นสนสองใบขึ้นตามขุนเขา ซึ่งสนสองใบนี้จะขึ้นบนพื้นที่ที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 800 – 1,000 เมตร สำหรับแหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงอุทยานแห่งชาติพุเตยนั้น ประกอบไปด้วย ถ้ำตะพันเงิน ตั้งอยู่ในภูเขาหินปูนใกล้หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากหินงอกหินย้อยที่ปะปนด้วยสายแร่ซิลิก้า หรือที่เรียกว่า หินประกายเพชร ส่องประกายเป็นสีเงินระยิบระยับยามต้องแสงไฟ ใกล้กันยังมีถ้ำตะพันทอง ลักษณะภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ซึ่งกระเหรี่ยงในพื้นที่ตะเพินคี่ ได้สร้างพระพุทธรูปไว้สักการะบูชา นอกจากนั้นแล้วยังมีน้ำตกตะเพินคี่น้อย ตะเพินคี่ใหญ่ แต่มีน้ำตกที่น่าสนใจคือ น้ำตกพุกระทิง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณบ้านคลองเหล็กไหล เป็นน้ำตกที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากฟาหินที่มีความสูงถึง 30 เมตรบีบตัวเข้าหา
กันทำให้เกิดสายน้ำไหลผ่าน กระทบโขดหินเป็นสายธารสู่พื้นเบื้องล่าง
ออกจากอุทยานแห่งชาติพุเตย คณะสมาร์ทคาราวานใช้เส้นทางบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ผ่านเข้าตัวจังหวัด มาทะลุออกสู่ถนนหมายเลข 1 มุ่งหน้าผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร ผ่านอำเภอวังเจ้า แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนหมายเลข 105 ไปยังอำเภอแม่สอด ผ่านหมู่บ้านท่าสายลวด ที่ครั้งหนึ่งมีหลักฐานว่า เมื่อ 150 ปีก่อนบริเวณที่ตั้ง ตำบลท่าสายลวด ปัจจุบันนี้ ยังมีสภาพป่ารกทึบ ไม่มีผู้คนอาศัยและติดกับฝั่งแม่น้ำเมย จนกระทั่งมีกลุ่มคนไทยซึ่งไม่ปรากฎ หลักฐานว่าอพยพมาตั้งหลักฐานอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมย โดยการปลูกไร่อ้อยและยาสูบ ต่อมาไม่นานมีการขยายตัวของหมู่บ้าน ประกอบกับบริเวณริมฝื่งแม่น้ำเมยมีการติดตั้งสายโทรเลขจากฝั่งสหภาพพม่า จากเมืองกรุกกริก ถึงประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งฝรั่งตาน้ำข้าวอย่าง อังกฤษ และฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม
ทั้งนี้จ้าวอาณานิคมอย่างอังกฤษ ต้องการการสื่อสารที่ฉับไว จึงมีการร่วมมือระหว่างไทย – อังกฤษ และในแนวที่สายโทรเลขพาดผ่านนั้น จะมีการเดินเท้าติดตามตลอดจนถึงตัวเมืองแม่สอด เส้นทางนี้มีความสำคัญสำหรับชาวบ้านในบริเวณนี้ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมและมีการสร้างวัดใกล้ท่าน้ำ และท่าข้ามเรือบริเวณที่มีสายโทรเลขผ่านจึงเรียกว่า วัดท่าสายโทรเลข ต่อมามีหมู่บ้านเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเกิดการรวมตัวกันเรียกชื่อใหม่ว่า หมู่บ้านท่าสายลวด มาจนถึงปัจจุบัน
เส้นทางที่คดโค้งทั้งขึ้นเขาและลงเขาบนเส้นทางเข้าสู่ตัวเมืองแม่สอด แม้ถนนจะไม่คับแคบบางช่วงมีการเพิ่มเลนสำหรับการแซง อัตราเร่งของไฮลักซ์ วีโก้ สมาร์ท แค็บ ยังตอบสนองการขับขี่ได้เป็นอย่างดี สัมภาระมากมายที่ได้รับการบรรทุกอยู่ภายในแค็บที่กว้างขวางกลิ้งไปมาตามการเหวี่ยงของรถในแต่ละโค้ง จนกระทั่งคณะคาราวานเข้าสู่ตัวเมืองแม่สอด และเดินทางต่อมายังตลาดริมเมย ที่ตั้งอยู่ติดกับเขตแดนของพม่า โดยมีแม่น้ำเมยขวางกั้น ตลาดริมเมยนั้น มีสินค้าให้จับจ่ายใช้สอยกันมากมาย และแน่นอนว่าในทุกตลาดการค้าชายแดนที่ติดกับเขตแดนพม่านั้น มักจะมีอัญมนีเป็นสินค้าที่วางจำหน่ายด้วยเสมอ ที่ตลาดริมเมยนั้นจะมีทั้ง ทับทิม หยก พลอยเจียระไน และต้นไม้มงคล นอกจากนี้ยังมีเครื่องไม้แกะสลัก เครื่องหวาย เครื่องสำอางพม่า เครื่องใช้ไฟฟ้าจากแผ่นดินจีน อาหารแห้งก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กุ้งแห้ง ปลา หมึกแห้ง เห็ดหอม ถั่ว หน่อไม้แห้ง บ๊วยเค็ม รวมถึงยาสมุนไพรจากจีน อย่างไรก็ตามสินค้าเหล่านี้จำเป็นต้องเลือกเฟ้นและต่อรองราคาให้ดี ข้อควรระวังสำหรับการเป็นนักช้อปที่นี่คือ สินค้าบางอย่างค่อนข้างเก่าและเครื่องสำอางบางชนิดมีของปลอมวางปะปนอยู่
หากคิดจะไปเที่ยวยังฝั่งพม่า ที่ตลาดริมเมยจะมีสะพานมิตรภาพ ไทย-พม่า เชื่อมไทยกับอำเภอเมียวดี ของประเทศพม่า อาคารร้านค้าในฝั่งพม่ายังคงมีสภาพคล้ายกับบ้านเมืองไทยเมื่อย้อนหลังกลับไปประมาณสัก 30 ปีก่อนได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปชมได้ในรัศมีจากสะพานมิตรภาพไปราว 1.5 กม. ค่ำคืนที่สามของการเดินทาง คณะคาราวานพำนักพักพิงค้างแรมกันที่โรงแรมในตัวเมืองแม่สอด อากาศของที่นี่ในช่วงเดือนมกราคมยังคงหนาวเย็น แม้จะผ่านการเดินทางอย่างหนักมาได้ 3 วัน กับระยะทางเกือบ 1,200 กม. สมาชิกที่ร่วมในคาราวานยังคงแจ่มใส และไม่มีอาการอิดโรย หรืออ่อนเพลีย
วันที่สี่ของการเดินทาง คณะวีโก้สมาร์ท คาราวาน ออกเดินทางกันแต่เช้า โดยเส้นทางการเดินทางในวันนี้จะเลาะเลียบแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่าไปตลอด โดยเดินทางตามถนนหมายเลข 105 มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ระมาด แวะสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอแม่ระมาด ที่ผู้คนทั่วไปรู้จักกันดี คือ วัดดอนแก้ว ตั้งอยู่หลังที่ว่าการอำเภอแม่ระมาด ที่นี่มีพระพุทธรูปแกะสลักหินอ่อน ซึ่งเป็นปฏิมากรรมของพม่า ได้แกะสลักขึ้นพร้อมกัน 3 องค์ โดยที่องค์ที่ 1 ประดิษฐานที่ประเทศปากีสถาน องค์ที่ 2 ประดิษฐานที่ประเทศอินเดีย และองค์ที่ 3 ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้งประดิษฐานในวิหารของวัดดอนแก้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สวยสดงดงามหาดูได้ยาก มีขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูง 63 นิ้ว เล่ากันว่า ขุนระมาดไมตรี กำนันของแม่ระมาดในสมัยก่อนได้เดินทางไปเที่ยวพม่าและพบพระพุทธรูปองค์นี้ จึงติดต่อขอบูชาจากชาวพม่าด้วยราคา 800 รูปี และอัญเชิญจากสถานที่ที่ก่อสร้างมาทางเรือ ผ่านเมืองมะละแหม่งมาจนถึงท่าเรือจองโต ระหว่างขนย้ายพระพุทธรูปลงจากเรือเพื่ออัญเชิญขึ้นสู่เกวียน ด้วยความที่เกรงว่าองค์พระจะเสียหายจึงคว่ำหน้าพระพุทธรูปไว้กับหาดทราย เมื่อถึงเวงลายกพระพุทธรูปขึ้น กลับไม่มีผู้ใดทำได้ ขณะนั้นครูบาขาวปลี เกจิอาจารย์ของภาคเหนือกำลังเดินทางไปเมืองจองโต ได้มาพบเหตุการณ์จึงทำพิธีอัญเชิญ คนงานจึงสามารถยกพระพุทธรูปขึ้นเกวียนได้อย่างง่ายดาย เป็นที่อัศจรรย์มาก เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดไปทั่วพม่า ชาวบ้านจึงมากราบไหว้บูชา
วันที่สี่ของการเดินทาง คณะวีโก้สมาร์ท คาราวาน ออกเดินทางกันแต่เช้า โดยเส้นทางการเดินทางในวันนี้จะเลาะเลียบแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่าไปตลอด โดยเดินทางตามถนนหมายเลข 105 มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ระมาด แวะสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอแม่ระมาด ที่ผู้คนทั่วไปรู้จักกันดี คือ วัดดอนแก้ว ตั้งอยู่หลังที่ว่าการอำเภอแม่ระมาด ที่นี่มีพระพุทธรูปแกะสลักหินอ่อน ซึ่งเป็นปฏิมากรรมของพม่า ได้แกะสลักขึ้นพร้อมกัน 3 องค์ โดยที่องค์ที่ 1 ประดิษฐานที่ประเทศปากีสถาน องค์ที่ 2 ประดิษฐานที่ประเทศอินเดีย และองค์ที่ 3 ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้งประดิษฐานในวิหารของวัดดอนแก้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สวยสดงดงามหาดูได้ยาก มีขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูง 63 นิ้ว เล่ากันว่า ขุนระมาดไมตรี กำนันของแม่ระมาดในสมัยก่อนได้เดินทางไปเที่ยวพม่าและพบพระพุทธรูปองค์นี้ จึงติดต่อขอบูชาจากชาวพม่าด้วยราคา 800 รูปี และอัญเชิญจากสถานที่ที่ก่อสร้างมาทางเรือ ผ่านเมืองมะละแหม่งมาจนถึงท่าเรือจองโต ระหว่างขนย้ายพระพุทธรูปลงจากเรือเพื่ออัญเชิญขึ้นสู่เกวียน ด้วยความที่เกรงว่าองค์พระจะเสียหายจึงคว่ำหน้าพระพุทธรูปไว้กับหาดทราย เมื่อถึงเวงลายกพระพุทธรูปขึ้น กลับไม่มีผู้ใดทำได้ ขณะนั้นครูบาขาวปลี เกจิอาจารย์ของภาคเหนือกำลังเดินทางไปเมืองจองโต ได้มาพบเหตุการณ์จึงทำพิธีอัญเชิญ คนงานจึงสามารถยกพระพุทธรูปขึ้นเกวียนได้อย่างง่ายดาย เป็นที่อัศจรรย์มาก เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดไปทั่วพม่า ชาวบ้านจึงมากราบไหว้บูชา
จากนั้นคณะวีโก้สมาร์ท คาราวาน เดินทางต่อผ่านศูนย์พักพิงชั่วคราวอำเภอท่าสองยาง ซึ่งเป็นศูนย์พักพิงที่มีผู้อพยพชาวกระเหรี่ยงมากที่สุดกว่า 50,000 คน และนานที่สุดกว่า 14 ปี ศูนย์แห่งนี้เป็นที่รู้จักของชาวไทยเมื่อครั้งที่ภริยาอดีตผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี จอร์ช บุช ได้เลือกศูนย์แห่งนี้เป็นที่มาเยี่ยมเยือน และประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า ผู้อพยพเหล่านี้หนีภัยสงครามมาจากประเทศพม่า ผ่านศูนย์พักพิงที่ยาวเป็นกิโล หลังคาบ้านหลายพันหลัง ผู้อพยพที่ต้องขาดการศึกษา และไม่มีเชื้อชาติ ไม่มีที่ทำกิน ที่ดูจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตหากไม่ได้รับการเหลียวแล และให้การช่วยเหลือ คณะวีโก้สมาร์ท คาราวาน แวะมอบผ้าห่มให้กับกองร้อยทหารพรานบ้านวังผา แวะพักชมแม่น้ำเมย ณ หน่วยบำรุงทางหลวง ที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับหลุมฝังศพของนายพลโบเมียะ ผู้นำกองกำลังสหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยง หรือ เคเอ็นยู ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธที่เข้มแข็งและต่อสู้กับทหารพม่ามาเป็นเวลาหลายสิบปี ชนชาติกระเหรี่ยงถือได้ว่าเป็นชนชาติที่มีความรู้สูง เนื่องมาจากการได้รับการสั่งสอนจากนักบุญผู้เผยแพร่ศาสนา และได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์จากยุโรป ในการป้องกันแผ่นดินของตนเอง
การเดินทางในช่วงนี้ ถนนเริ่มคับแคบและขาดการซ่อมบำรุง บางช่วงกำลังมีการขยายถนน เส้นทางยังคงคดโค้ง ขึ้นเขาลงเขา เลาะเลียบลำน้ำเมย ไปตลอดจนถึงแม่สะเรียง จากนั้นมุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านออบหลวง อำเภอจอมทอง ที่ครั้งหนึ่งในอดีตเป็นสถานที่พักของพวกทำไม้บริษัท บอร์เนียว ที่สมัยนั้นการทำไม้สักใช้วิธีลำเลียงล่องมาตามลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งไม้จะมาวนอยู่ที่ออบหลวงซึ่งเป็นวังน้ำวนและลึกมาก รวมไปถึงหน้าผาที่สูงชัน บริษัททำไม้จึงตั้งปางพักตรงจุดนี้เพื่อคอยเก็บไม้ที่ไหลมาไม่ให้ไหลลงไปวังน้ำวน ตามประวัติดั้งเดิมเล่าสืบต่อกันมาว่า ลำน้ำแม่แจ่มสมัยก่อนเรียกว่า แม่น้ำสลักหิน เนื่องจากแม่น้ำนี้ได้เจาะภูเขาหินลูกหนึ่งจนทะลุไหลผ่านเป็นลำน้ำตรงที่เรียกว่า ออบหลวง ในปัจจุบันต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้
จาก ออบหลวง คณะวีโก้ สมาร์ท คาราวาน ใช้เส้นทาง 1088 และ 1192 เข้าสู่อำเภอแม่แจ่ม การเดินทางในข่วงนี้ยังคงขึ้นเขาลงเขาตลอด ธรรมชาติสองข้างทางเป็นป่าที่เริ่มจะแห้งแล้ง ใบไม้เริ่มออกเป็นสีแดง จากอำเภอแม่แจ่มมีแยกขวามือขึ้นสู่ดอยอินทนนท์ แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า "ดอยอ่างกา"แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า "อ่างกา" นั้น แท้จริงแล้วมาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า "ใหญ่" เพราะฉะนั้นคำว่า "ดอยอ่างกา" จึงแปลว่าดอยที่มีความใหญ่นั่นเอง
จาก ออบหลวง คณะวีโก้ สมาร์ท คาราวาน ใช้เส้นทาง 1088 และ 1192 เข้าสู่อำเภอแม่แจ่ม การเดินทางในข่วงนี้ยังคงขึ้นเขาลงเขาตลอด ธรรมชาติสองข้างทางเป็นป่าที่เริ่มจะแห้งแล้ง ใบไม้เริ่มออกเป็นสีแดง จากอำเภอแม่แจ่มมีแยกขวามือขึ้นสู่ดอยอินทนนท์ แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า "ดอยอ่างกา"แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า "อ่างกา" นั้น แท้จริงแล้วมาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า "ใหญ่" เพราะฉะนั้นคำว่า "ดอยอ่างกา" จึงแปลว่าดอยที่มีความใหญ่นั่นเอง
ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง
ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์"
และเมื่อขึ้นไปบนยอดภูเขาสูง จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระองค์เจ้าอินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่
แต่มีข้อมูลบางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน
มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า
ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน
และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์"
บนยอดดอยอินทนนท์ ยังมีพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุ
นภพลภูมิสิริ ตั้งอยู่บนกม.ที่ 41.5 ทางด้านซ้ายมือ สร้างขึ้นโดยกองทัพกอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปี พ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปีพ.ศ. 2535 พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือมีฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปบูชา รอบบริเวณสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์โดยรอบได้อย่างสวยงาม อุณหภูมิบนอุทยานที่พักในช่วงปลายเดือนมกราคม ยังคงมีความหนาวเย็นอยู่ อุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส และยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งหลาย มีการจัดที่พักอย่างเป็นระเบียบ จุดกางเตนท์แต่ละที่แต่ละแห่งได้รับการปรับแต่งพื้นที่อย่างดี ท่ามกลางทิวสนสามใบที่รอบล้อมและไอเย็นของสายหมอกยามเช้า
สถานที่ท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงจะมีน้ำตกแม่ยะ อยู่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูงประมาณ 280 เมตรมีทั้งหมด 30 ชั้น มีต้นกำเนิดมาจากดอยอินทนนท์ ในฤดูน้ำหลากสายน้ำจะแผ่กระจายออกไปตามเชิงผาที่กว้างราว 100 เมตร น้ำตกแม่กลาง จัดเป็นน้ำตกที่มี่ชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะขนาดใหญ่ และมีน้ำไหลตลอดทั้งปี น้ำตกแม่กลางมี “วัง” หรือแอ่งน้ำลึกให้เล่นน้ำอยู่หลายวัง หากเป็นช่วงฤดูน้ำหลากต้องใช้ความระมัดระวังในการลงเล่น เพราะความแรงของกระแสน้ำอาจพัดพาให้ไปติดหลืบหินเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากอยากไปสัมผัสชีวิตของชาวเขา ต้องไปที่โครงการหลวงบ้านขุนกลาง เป็นชุมชนชาวเขาเผ่าม้งขนาดใหญ่ เลยไปหน่อยจะมีทางเข้า น้ำตกสิริภูมิ ซึ่งเป็นสายน้ำสองสายไหลคู่กันตกลงมาจากหน้าผาสูง แต่เดิมเรียกว่า
น้ำตกเลาลี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
การขึ้นลงดอยอินทนนท์ทางอำเภอแม่แจ่ม ถือเป็นเส้นทางที่คับแคบและไต่เขาสูงชัน ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากนัก แต่ยังคงเป็นเส้นทางสัญจรของคนในพื้นที่ ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวจะเดินทางขึ้นมาบนดอยอินทนนท์ทางอำเภอจอมทองมากกว่า ด้วยถนนที่กว้างและไม่ต้องขึ้นทางชันมากนัก แต่บนเส้นทางสายแม่แจ่มนั้น
ยังคงอุดมไปด้วยป่าไม้ที่ยังปกคลุมอย่างหนาแน่น
คณะคาราวานแวะพักที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในเส้นทางสายเก่าที่การเดินทางจากเชียงใหม่มายังแม่ฮ่องสอนต้องใช้เส้นทางสายนี้ ผ่านบ้านแม่นาจอน บ้านปางอุ๋ง แล้วเลี้ยวขวาขึ้นไปผ่าน ดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม ที่ขุนยวมจะมีทางแยกขวามือขึ้นสู่น้ำตกแม่สุรินทร์ ซึ่งเป็นน้ำตกชั้นเดียวที่สวยงามมากมีน้ำไหลตลอดทั้งปี และนับเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในประเทศไทย เกิดจากแม่น้ำสุรินทร์ มีธรรมชาติรอบด้านเป็นภูเขาสูงชันไหลลงมา เป็นสายยาวจากหน้าผาสู่หุบเขาสูงประมาณ 100 เมตร หากไปเที่ยวในช่วงเดือน พ.ย. .- ธ.ค. นักท่องเที่ยวจะได้ชมความงามของทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ ที่บานสะพรั่งเหลืองอร่ามไปทั่งทั้งดอย เพราะการเดินทางใช้ เส้นทางเดียวกัน การเดินทางจะผ่านทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอก่อนเราสามารถวางแผนเที่ยวสองจุดนี้พร้อมกันได้ น้ำตกแม่สุรินทร์จะอยู่ห่างจากอำเภอขุนยวม ประมาณ 38 กิโลเมตร ตั้งอยู่บ้านแม่สุริน ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม หากนักท่องเที่ยวต้องการมาพักแรมยังบริเวณน้ำตกทางอุทยานเขาก็มีบ้านพักบริการ
หรือจะกางเต็นท์พักแรมที่นี่ก็มีลานกางเต็นท์ให้
บนเส้นทางหลวงหมายเลข 108 ที่เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 1088 ที่มาจากขุนยวม มุ่งหน้าสู่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ที่ยังเป็นเส้นทางบนเขาเหมือนเดิม คณะวีโก้ สมาร์ท คาราวาน แวะนมัสการ วัดจองคำ วัดจองกลาง ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ โดยที่วัดทั้งสองจะอยู่ติดกัน ทั้งนี้ในส่วนของวัดจองคำนั้น เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พศ. 2340 เป็นวัดแรกของเมืองแม่ฮ่องสอน สร้างบตามแบบอย่างศิลปไทยใหญ่ โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่ หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท 9 ชั้น ซึ่งมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือ ตัวแทนพระศาสนา ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโต ที่สร้างเมื่อ พศ. 2477 โดยช่างฝีมือชาวพม่ามีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 เมตร และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนี ที่วิหารวัดสุทัศน์ เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปลว
ส่วนวัดจองกลางที่ตั้งอยู่ข้างกับวัดจองคำ ภายในวิหารมีแท่นบูชาตั้งพระพุทธสิหิงค์จำลอง ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ มีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น ตุ๊กตาแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปคนและสัตว์เกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นฝีมือการแกะสลักของช่างชาวพม่า ที่นำมาจากพม่าตั้งแต่ พศ. 2400 นอกจากนั้นแล้วยังมีจิตรกรรมที่น่าสนใจคือ ภาพวาดบนแผ่นกระจกเป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดกและภาพประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ ตลอดจนภาพวาดเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นพร้อมด้วยคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่า และมีบันทึกบอกไว้ว่าเป็นฝีมือของช่างไทยใหญ่จากมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญที่สวยงาม ออกจากวัดจองคำ วัดจองกลางแล้ว ขบวนคณะคาราวานเริ่มเดินทางต่อ โดยใช้เส้นทางปางมะผ้า ปาย ซึ่งถนนเส้นนี้ได้ชื่อว่า มีโค้งนับพัน และเป็นอีกครั้งที่ไฮลักซ์ วีโก้ สมาร์ท แค็บ ได้ทำงานหนักอีกครั้งกับโค้งหลายต่อหลายโค้งต่อเนื่อง ทั้งขึ้นเขาและลงเขา อัตราเร่งที่ทำงานต่อเนื่องกับกำลังของเครื่องยนต์ที่ติดตั้งระบบเทอร์โบแปรผันที่ติดตั้งครีบที่สามารปรับเปลี่ยนองศาการปิด-เปิด ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ช่วยให้เทอร์โบทำงานสัมพันธ์กับความเร็วรอบเครื่องยนต์ ตอบสนองต่อการเร่งทั้งรอบต่ำและสูง
การปรับเปลี่ยนเกียร์ที่ง่าย และการบังคับควบคุมพวงมาลัยที่แม่นยำ โค้งที่แคบและหักศอก จนไปถึงพับเป็นตัววี ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการไต่ขึ้น แม้จะมีเสียงครางของดอกยางที่บดกับพื้นถนนยามเข้าโค้งด้วยความเร็วที่สูงแต่
การเกาะถนนของวีโก้ สมาร์ท แค็บ ยังทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
ในการเดินทางครั้งนี้ คณะขบวนวีโก้ สมาร์ท คาราวาน ได้ขนสัมภาระมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผ้าห่มกันหนาว สำหรับการมอบให้กับหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาประเทศอย่างกองร้อยทหารพราน หรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ต้องหลับนอนตามป่าเขาแล้ว ยังได้มอบอุปกรณ์การเรียนการศึกษาและอุปกรณ์กีฬา ผ้าห่มกันหนาวให้กับโรงเรียนตชด.อำเภอปางมะผ้า ที่อยู่ในป่าเขาที่ต้องขับรถเข้าสู่เส้นทางออฟโรดเป็นระยะทางกว่า 30 กม.
ซึ่งเป็นโรงเรียนติดชายแดนมีหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอแดงตั้งอยู่เป็นแนวกันชนริมชายแดนไทย-พม่า
จากนั้นเดินทางต่อจากปางมะผ้ามุ่งหน้าสู่อำเภอปาย แหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ในอดีตนั้นเป็นแค่ทางผ่านสำหรับการเดินทางจากเชียงใหม่ไปแม่ฮ่องสอน ที่อำเภอปายนั้น แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจากแผ่นฟิล์มภาพยนตร์ในเรื่อง รักจัง ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะใช้เป็นจุดพักระหว่างทางไปแม่ฮ่องสอน
แหล่งท่องเที่ยวของที่นี่มีไม่มาก แต่บรรยากาศสำหรับช่วงฤดูหนาวจะเป็นฤดูท่องเที่ยวของที่นี่ ลำน้ำปายสำหรับการล่องแพ ชมธรรมชาติสองข้างทาง แม่น้ำปายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขาถนนงธงชัยกับเทือกเขาแดนลาวในเขตอำเภอปายแล้วไหลลงมาตามหุบเขา ผ่านอำเภอปาย มีแม่น้ำสาขาหลายสาย แต่ที่มีคยามสำคัญคือ ลำน้ำของ ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในเขต อำเภอปางมะผ้า ไหลมารวมกับแม่น้ำปาย ผ่านแม่ฮ่องสอนและไหลลงสู่แม่น้ำสาละวินที่บ้านใหม่
รัฐคะยา ประเทศพม่า
รีสอร์ทใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แม้จะไม่ใช่รีสอร์ทระดับหรูหรา เป็นเพียงแค่โฮมสเตย์ที่ออกไปในแนวบังกะโล แต่ก็เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้อย่างสบายอีกทั้งราคาห้องพักดูจะสูงไปหน่อย สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของที่นี่คือ ถนนคนเดิน ระยะทางสั้นๆ ที่เต็มไปด้วยร้านรวงขายงานฝีมือและความคิด ราคาไม่สูงมาก แต่หากเป็นเสื้อผ้าแล้วดูจะแพงไปนิด อย่างไรก็ตามมุมถนนตรงสี่แยกดูจะเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่มายืนถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ยามเช้าอาจแวะไปถ่ายภาพที่ร้าน คอฟฟี่อินเลิฟ ที่มีการตกแต่งสวยงาม หรืออาจจะไปเที่ยวหมู่บ้านของชาวยูนนาน ที่จะมีสินค้าประเภทชุดชงชา ชาจีน ผลไม้แช่อิ่ม บ๊วย และเครื่องประดับไว้จำหน่าย ที่นี่จะมีชิงช้าไว้บริการนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายความตื่นเต้นสนุกสนาน หรือจะลิ้มรสอาหารจีนยูนนานก็มีไว้บริการ
คณะสื่อมวลชนชุดแรกจำนวน 19 ชีวิต ที่ร่วมเดินทางในทริปแรก ที่อาจจะเรียกได้ว่า
ครบทุกรสชาดของการเดินทาง ที่มีทั้งการขับแบบสบายๆ บนไฮเวย์ ขับในเส้นทางที่ขึ้นเขาชัน
เต็มไปด้วยทางคดโค้ง หรือแม้แต่เส้นทางออฟโรดในป่าเขา พร้อมๆ กับการได้สัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวระหว่างทาง
ที่จะทำให้คุณรักเมืองไทยมากขึ้น กับระยะทางการเดินทางทั้งหมด 1,914 กม. ในเวลา 5 วัน พร้อมกับการเปลี่ยนสื่อมวลชนชุดใหม่มาสานต่อการเดินทางในรูปแบบคาราวานท่องเที่ยวเลาะรอบตะเข็บชายแดนไทยกันต่อไป
โปรดติดตามอ่านต่อในตอนต่อไป ทริปที่ 2 พิสูจน์สมรรถนะบนสันเขา เลาะตะเข็บชายแดน พม่า และ ลาว
โปรดติดตามอ่านต่อในตอนต่อไป ทริปที่ 2 พิสูจน์สมรรถนะบนสันเขา เลาะตะเข็บชายแดน พม่า และ ลาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น