นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำ
เดือนมกราคม 2553 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 49,560 คัน เพิ่มขึ้น 54.5%
ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,721 คัน เพิ่มขึ้น 53.2%
รถเพื่อการพาณิชย์ 28,839 คัน เพิ่มขึ้น 55.4% รวมทั้ง
รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 24,648 คัน เพิ่มขึ้น 53.5%
ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม มีปริมาณการขาย 49,560 คัน เพิ่มขึ้น 54.5%
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราการเติบโต
สูงสุดในรอบกว่า 7 ปี อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโต
ที่เพิ่มขึ้นมาสูงมากนั้น เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลง
ตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐอเมริกา เมื่อครึ่งปีหลังของปี 2008
เริ่มเห็นสัญญาณของการคลายตัว และดีขึ้นเป็นลำดับ
โดยรถยนต์นั่งเติบโต 53.2% รถเพื่อการพาณิชย์เติบโต 55.4%
โดยเฉพาะรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ เติบโตถึง 53.5%
ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
ที่มีสัญญาณฟื้นตัวจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ
สินค้าทางการเกษตรที่มีราคาดีขึ้น การฟื้นตัวของการส่งออก
รวมถึงการแนะนำสินค้าใหม่และกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ส่งผลให้งานมอเตอร์เอ็กซ์โปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา มียอดจองสูงที่สุด
และการเริ่มทยอยส่งมอบรถให้กับลูกค้า ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อ
ระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนตลาดรถยนต์
ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าปริมาณการขายยังคงดี
อย่างต่อเนื่อง จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคมที่สูงถึง 71.9
สูงสุดในรอบ 21 เดือน การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ
มาตรการต่อเนื่องต่างๆของภาครัฐที่มุ่งกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ
ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ ประกอบกับข้อมูลสถิติการขายที่
เดือนกุมภาพันธ์จะมียอดขายเป็นอันดับ 2 ของไตรมาสแรก แต่อย่างไรก็ตาม
สถานการณ์ภายในประเทศช่วงปลายเดือนอาจส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นต่อผู้ บริโภคและภาคการลงทุน
สำหรับ กรณีเรียกรถกลับมาตรวจสอบแก้ไขในต่างประเทศนั้น
คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์เมืองไทยมากนัก
เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละค่ายได้ออกมาให้รายละเอียดและอธิบายแก่ลูกค้าอย่าง
เข้าใจ ประกอบกับมาตรฐานการผลิต ที่มีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด
เชื่อว่าสามารถสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคได้ในที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม 2553
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 49,560 คัน เพิ่มขึ้น 54.5%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,289 คัน
เพิ่มขึ้น 50.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,168 คัน เพิ่มขึ้น 42.7%
ส่วนแบ่งตลาด 20.5% ส่วนต่าง 10,121 คัน
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,701 คัน เพิ่มขึ้น 45.2%
ส่วนแบ่งตลาด 15.5% ส่วนต่าง 12,588 คัน
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,721 คัน เพิ่มขึ้น 53.2%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,665 คัน
เพิ่มขึ้น 28.5% ส่วนแบ่งตลาด 49.8%
- อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,059 คัน เพิ่มขึ้น 42.2%
ส่วนแบ่งตลาด 34.1% ส่วนต่าง 1,606 คัน
- อันดับที่ 3 มาสด้า 1,583 คัน เพิ่มขึ้น 447.8%
ส่วนแบ่งตลาด 7.6% ส่วนต่าง 7,082 คัน
• ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 24,648 คัน เพิ่มขึ้น 53.5%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,442 คัน
เพิ่มขึ้น 73.3% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,472 คัน เพิ่มขึ้น 41.3%
ส่วนแบ่งตลาด 38.4% ส่วนต่าง 970 คัน
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,644 คัน
เพิ่มขึ้น 73.2% ส่วนแบ่งตลาด 6.7% ส่วนต่าง 8,798 คัน
• ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,371 คัน
-โตโยต้า 1,142 คัน
- มิตซูบิชิ 741 คัน
- อีซูซุ 428 คัน
- ฟอร์ด 60 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,277 คัน เพิ่มขึ้น 53.2%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,300 คัน
เพิ่มขึ้น 79.8% ส่วนแบ่งตลาด 41.7%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,044 คัน
เพิ่มขึ้น 40.4% ส่วนแบ่งตลาด 40.6% ส่วนต่าง 256 คัน
- อันดับที่ 3 นิสสัน 1,642 คัน
เพิ่มขึ้น 36.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.43% ส่วนต่าง 7,658 คัน
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 28,839 คัน เพิ่มขึ้น 55.4%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,624 คัน
เพิ่มขึ้น 73.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.3%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,168 คัน
เพิ่มขึ้น 42.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.3% ส่วนต่าง 1,456 คัน
- อันดับที่ 3 นิสสัน 1,655 คัน
เพิ่มขึ้น 32.3% ส่วนแบ่งตลาด 5.7% ส่วนต่าง 9,969 คัน